ประวัติชาวลาวเวียงในราชบุรี

ประวัติ

ชาวไทยลาวเวียงหรือกลุ่มชนชาวลาวตี้ในจังหวัดราชบุรี คือ ชนชาติลาวกลุ่มหนึ่งที่มี เชื้อสายลาวจากเวียงจันทน์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว เหตุที่เรียกว่า “ลาวตี้” เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักลงท้ายคำพูดในเวลาพูดว่า “ตี้” การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทสไทยของลาวเวียงเริ่มขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี แต่ไม่ปรากฏว่าเข้ามาใน พ.ศ. ใด ทราบแต่เพียงว่าเป็นช่วงที่พม่ามีอำนาจในการปกครองเวียนจันทน์ ชนเวียงจันทน์และหัวเมืองลาวใกล้เคียงต่างลี้ภัยอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่เมืองนครราชสีมา พระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชทรงอนุญาตให้ชาวลาวอพยพดังกล่าวเข้าพักพิง ตั้งบ้านเรือนที่สระบุรี เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๒๑ ต่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชได้โปรดให้สมเด็จพระเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราชยกทัพไปตีหัวเมืองล้านช้าง ได้แก่เวียงจันทน์ หลวงพระบางจำปาศักดิ์ และหัวเมืองฟากโขงตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากครั้งนั้นเจ้านายลาวเกิดความไม่ปรองดองกัน พระวอพระตา (เจ้านายลาว) จึงหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิามภารพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชโดยอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อเจ้าสิริบุญสารผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ทราบข่าวก็โปรดให้ยกกองทัพเข้ามาในเขตไทยจับพระวอพระตาฆ่าเสีย พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดฯ ให้ยกกองทัพไปปราบและยกทัพไปยึดเวียงจันทน์  เมื่อยึดเวียงจันทน์ได้แล้วจึงกวาดต้อนครอบครัวลาวเวียงจันทน์พร้อมด้วยอาวุธและทรัพย์สินลงมา ในบรรดาครอบครัวดังกล่าวมีโอรสของเจ้าสิริบุญสารรวมอยู่ด้วย ๓ องค์ ได้แก่เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์ ได้โปรดฯ ได้พำนักอยู่ที่บางยี่ขันหรือบริเวณวัดดาวดึงส์ ปัจจุบันสำหรับครอบครัวลาวเวียงอื่นโปรดฯ ให้รวมไว้ที่เมืองสระบุรีบางส่วนส่งมาที่ราชบุรีไปเมืองจันทบุรีบ้าง พ.ศ. ๒๓๓๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้านันทเสนผู้ครองเมือง เวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพไปตีเมืองพวนและเมืองแดงกวาดต้อนครอบครัวลาวพรวนและลาวทรงดำ มาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนกับลาวเวียงจันทน์ที่อยู่ในประเทศไทย ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้า ไม่ประทานให้และทรงปลดเจ้านันทเสนออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเวียงจันทน์พร้อมกับทรงยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์กวาดต้อนครับครัวเวียงจันทน์เข้ามาในหัวเมืองชั้นในอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๗๑ เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงเทพฯ ได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และเมืองจำปาศักดิ์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมา หัวเมืองลาวบริเวณที่ราบสูงแม่น้ำโขงพร้อมยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวลาวสระบุรีกลับไปเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จ-พระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯ ให้ยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์แล้วกวาดต้อนครอบครัวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ชาวลาวเวียงจันทน์บางส่วนบางส่วนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในราชบุรีอีก ชาวลาวเวียงหรือลาวตี้ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกระทั่งในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ -พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกทาส บรรดาเชลยลาวทั้งหลายในจังหวัดราชบุรีจึงมีอิสระในการตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินโดยแยกย้ายไปตามที่ต่างๆ แบ่งเป็นสายใหญ่ๆ ได้ ๒ สาย คือ สายหนึ่งไปยังทิศตะวันตกจากบริเวณเขาแร้งไปอำเภอจอมบึง โดยตั้งฐานอยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น หมู่บ้านนาสมอ หมู่บ้านสูงเนิน หมู่บ้านทำเนียบ หมู่บ้านเกาะ หมู่บ้านหนองบ้านเก่า หมู่บ้าน วังมะเดื่อ เป็นต้น สายที่สองขยายมาทางทิศตะวันออก จากบริเวณวัดพญาไม้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น หมู่บ้านในตำบลนางแก้ว หมู่บ้านวัดบ้านฆ้อง หมู่บ้านตำบลบ้านเลือก ตำบล บ้านสิงห์ บ้านหนองรี ในอำเภอโพธารามปัจจุบันและหมู่บ้านดอนเสลา หมู่บ้านหนองปลาดุก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง ปัจจุบันนี้ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนหรืออพยพมาจากนครเวียงจันทน์ได้ตั้งรกราก ถิ่นฐาน อยู่ในแผ่นดินไทย มีลูกหลานสืบสายเลือดกันมาหลายช่วงอายุคน จึงเรียกชนเผ่านี้ว่า “ไทยเวียง” ชาวไทยลาวในเขตพื้นที่ อำเภอโพธาราม ดังกล่าวมาแล้วว่าชาวไทยเวียงที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัดพญาไม้ได้แยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอโพธาราม คือ ตำบลนางแก้ว วัดบ้านฆ้อง และตำบลบ้านเลือก ยังมีชาวไทยลาวเวียงอีกส่วนหนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ให้พวกชาวลาวเหล่านี้ ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ แม่กลอง จากพื้นที่เหนือวัดเฉลิมอาสน์ถึงวัดสร้อยฟ้า (ปัจจุบัน)ชาวลาวเวียงอพยพมาจากประเทศลาวซึ่งถูกต้านมาให้อยู่ในประเทศไทยทำให้ทุกวันนี้มีชาวลาวเวียงค่อนข้างมากเพราะชาวลาวเวียงตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยโดยเฉพาะตำบลบ้านสิงห์จะเยอะมากและปัจจุบันนี้คนลาวเวียงส่วนใหญ่ไม่ค่อยที่จะพูดภาษาของตนเอง เพราะรู้สึกอายในภาษาและสำเนียง    ลาวเคยเป็นกลุ่มที่อยู่ที่อยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่อำเภอบ้านโป่ง ลงไปถึงอำเภอโพธารามมาก่อน เมื่อชาวมอญอพยพลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ และโดยเฉพาะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มอญ 7 เมือง พาผู้คนลงมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำแม่กลองบริเวณตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธารามได้ ลาวจึงอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนในแผ่นดินเข้าไปทั้งสองฝั่ง เข้าไปอยู่ที่ดอน ซึ่งปกติลาวบางกลุ่มมักชอบอยู่ที่ดอนและใกล้หนองน้ำ  ลาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านโป่งถึงบ้านเจ็ดเสมียนนี้ส่วนใหญ่ อพยพเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ในฐานะเชลยที่ถูกกวาดต้อนมา ให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อเป็นกำลังในการทำสงครามกับพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งซ้าย)  จากเหนือลงใต้ ย่านชุมชนลาวอยู่ถัดเข้าไปตอนใน ได้แก่บริเวณบ้านกำแพงใต้ (วัดกำแพงใต้ พ.ศ.2127 สมัยอยุธยา) บ้านเลือก (วัดบ้านเลือก พ.ศ.2343 รัชกาลที่ 1) บ้านบางลาน (วัดบางลาน พ.ศ.2360 รัชกาลที่ 2) บ้านดอนทราย (วัดดอนทราย พ.ศ.2377 รัชกาลที่ 3) บ้านกำแพงเหนือ (วัดกำแพงเหนือ พ.ศ.2400 รัชกาลที่ 4) บ้านหนองอ้อ (วัดหนองอ้อ พ.ศ.2401 รัชกาลที่ 4) บ้านหนองหูช้าง บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านมะขาม บ้านหุบมะกล่ำ (วัดหุบมะกล่ำ พ.ศ.2420 รัชกาลที่ 5) บ้านวัดโบสถ์ (วัดโบสถ์ พ.ศ.2434 รัชกาลที่ 5) บ้านฆ้อง (วัดบ้านฆ้อง พ.ศ.2443 รัชกาลที่ 5) และบ้านสิงห์ (วัดบ้านสิงห์ พ.ศ.2446 รัชกาลที่ 5) เป็นต้น  ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งขวา) จากเหนือลงใต้ ด้านนี้มีชุมชนลาวเก่าแห่งหนึ่ง และเป็นแห่งเดียวริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง คือ ชุมชนลาวบริเวณวัดสร้อยฟ้า (พ.ศ.2332 รัชกาลที่ 1) ชุมชนลาวถัดเข้ามาตอนใน ได้แก่ บ้านหนองปลาหมอ (วัดหนองปลาหมอ พ.ศ.2463 รัชกาลที่ 5) บ้านหนองคา บ้านหนองสองห้อง (วัดหนองสองห้อง) บ้านหนองกลางดง (วัดหนองกลางดง พ.ศ.2450 รัชกาลที่ 5) บ้านอู่ตะเภา บ้านวังมะนาว เป็นต้น ชุมชนลาวนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว่า มีแหล่งน้ำเหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน ทำนา ทำไร่   ลาวเวียงสืบเชื้อสายมาจากชนชาติลาวกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกกวาดต้อนมาจากนครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ในปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ประเพณีที่น่าสนใจ และเป็นแบบอย่างในเรื่องความรัก ความสามัคคีของหมู่คณะ ความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษ ได้แก่ ประเพณีสารทลาวเวียง ประเพณีนี้อยู่คู่กาบชุมชนลาวเวียงมาตั้งแต่ ก่อตั้งชุมชนได้เลยทีเดียว และยังนำมาปฏิบัติจนกระทั่งทุกวันนี้

ประเพณีการแต่งงานของชาวลาวเวียง

การแต่งงานหรือพิธีกินดองของคนลาวเวียงถือได้ว่าเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตน สมัยก่อนเมือหนุ่มสาวชาวลาวเวียงตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะจัดขันหมากมาสู่ขอหญิงเพื่อมาเป็นภรรยา เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วทั้งสองฝ่ายจะเริ่มเตรียมจัดหาของสำหรับพิธีกินดอง ในวันพิธีกินดองฝ่ายชายจะเตรียมยกขันหมากไปที่บ้านของฝ่ายหญิง เมื่อไปถึงบ้านของหญิงก็จะมีตรวจนับเงินค่าดอง และมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาว จากนั้นคู่บ่าวสาวจึงมานั่งเพื่อทำการผูกข้อมือ และป้อนไข่ขวัญให้แก่กัน เสร็จแล้วบ่าวสาวจะนำดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เสร็จแล้วเจ้าบ่างและญาติพี่น้องก็จะกลับไปบ้านของตน เมื่อได้เวลา ๒ – ๓ ทุ่ม ญาติพี่น้องเจ้าบ่าวจะนำเจ้าบ่าวไปส่งที่บ้านสาวเพื่อทำพิธีปูที่นอน และสั่งสอน อบรมคู่บ่าวสาวในเรื่องของการใช้ชีวิตคู่

วันสารทลาวเวียง

เป็นประเพณีของชาวไทย เชื้อสายลาวเวียง จัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี เพื่อให้พี่น้อง ลูกหลานที่ไปทำมาหากินต่างถิ่นกลับมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันนี้ชาวลาวเวียงจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงามแบบชาวลาวเวียง โดยเริ่มพิธีตั้งแต่ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. จะนำสำรับอาหารคาว หวาน ที่เรียกว่า “พาเวน” โดยจะมีอาหารคาว ๒ – ๓ อย่าง อาหารหวานจำพวกขนมหม้อแกง ทองหยิบ ทองหยอดและผลไม้ต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้คือ กระยาสารท โดยนำอาหารมาถวายเพลที่วัด เจ้าของพาเวนจะต้องจุดเทียนไว้ที่พาเวนของตน เมื่อพระสงฆ์มาติกาบังสุกุล ผู้ที่มาทำบุญจะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธีทางสงฆ์ ญาติโยมทั้งหลายจะนำห่อข้าวน้อย เป็นห่อข้าวที่ทำเป็นคู่ ๆ ข้างในจะมีข้าวปลาอาหาร นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ โดยมีความเชื่อว่า เป็นการทำบุญให้กับผีที่ไม่มีญาติ

ประเพณีใต้ดอกไม้

เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ได้สูญหายไปเกือบ ๓๐ ปี แล้วได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยพระครูวิธาณปุญญาวัตนจิรปุญโญ เจ้าอาวาสวัดสระพัง คุณฉวี ใจภักดี ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคนแรก และคณะกรรมการหมู่บ้านตามตำนานทางพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า ในระหว่างฤดูเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อแสดงธรรมในให้พระมารดาฟัง เมื่อเสร็จกิจแล้ว ได้เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ และได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรทั่วไป เพื่อเป็นการระลึกถึงวันนี้ในพุทธกาล ชาวลาวเวียงจึงได้จัดงานประเพณี “ไต้ดอกไม้” ในเวลากลางคืน มีกำหนด ๓ วัน คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ,๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ในช่วงออกพรรษาเพื่อเฉลิมฉลอง

ใส่ความเห็น